องค์ประกอบของเสียง

องค์ประกอบของระบบเสียงมีอะไรบ้าง ?? ??

องค์ประกอบของเสียง

Blog Single


ระบบเสียงเป็นสิ่งที่ดูเหมือนจะยากถ้าจะทำความเข้าใจ และมักจำเป็นต้องใช้เหล่าวิศวกรหรือผู้ดูแลระบบที่เข้าใจอย่างถ่องแท้เท่านั้นที่สามารถวางระบบได้ซึ่งแท้จริงแล้วมันไม่ได้ลึกขนาดนั้น เพียงถ้าเราสามารถเข้าใจตัวอุปกรณ์ได้อย่างดีก็สามารถดูแลระบบด้วยตนเองได้แล้วครับ

ในวันนี้ SEAMAN จะพาไปทำความรู้จักกับอุปกรณ์ในชุดเครื่องเสียง ระบบเสียงตามสถานที่ต่างๆให้เข้าใจกันมากยิ่งขึ้นกันนะครับ ไปชมกันเลย

1.ลำโพง

ถ้านึกถึงเรื่องเสียงแล้วก็ต้องมีลำโพงเป็นอย่างแรกเลย แต่คงมีบางคนที่ไม่รู้ว่าลำโพงเนี่ยมันแยกออกเป็นสองแบบนะถึงแม้ว่าหน้าตามันจะเหมือนกันซะเหลือเกิน

1.1 ลำโพงโอมห์

เป็นลำโพงที่เจอกันได้มากที่สุดตามบ้าน ไม่ว่าจะเป็นชุดเครื่องเสียงโฮมเธียเตอร์ หรือลำโพงฟังเพลงทั่วไป ซึ่งตรงนี้ต้องดูให้ดีนะ ครับเพราะจะต้องเลือกใช้แอมป์ให้ถูกต้องไม่งั้นพังได้เลย ลำโพงแบบนี้นั้นจะมีคุณสมบัติที่ดีตรงที่เป็นลำโพงที่ตอบสนองต่อย่านความถี่ได้ดี และมีประสิทธิภาพให้เสียงที่ชัดเจนไม่ว่าจะเป็นเสียงเบส (ต่ำ) หรือ เสียงแหลมสูง ดังนั้นถ้าคำนึงถึงคุณภาพเสียงเป็นหลักว่า จะต้องออกมาแบบครบทุกเม็ด ตัวนี้เลยครับ

1.1 ลำโพงโอมห์

เป็นลำโพงที่ใช้กระแสไฟ 100V หรือ 70V ในการทำงาน มีจุดเด่นคือสามารถเดินได้ไกลกว่าแบบ โอมห์มากๆ จะเป็นกิโลหรือทั้งหมู่บ้านก็ไม่หวั่น (แต่ต้องมีการออกแบบระบบที่ดีด้วยนะไม่งั้นเสียงจะดีเลย์ได้) มีหลายระดับให้เลือก ซึ่งโดยปกติ แล้วจะเหมาะกับเสียงประกาศดังนั้นการตอบสนองต่อย่านความถี่จึงแคบกว่าแบบโอมห์ สองแบบหลักๆนี้เป็นตัวที่เราเจอกันนะครับต้องเลือกการใช้งานให้ถูกต้องด้วย แต่มีบางตัวที่สามารถปรับได้ทั้งสองระบบด้วยนะ ด้านหลังจะมีลูกบิด ให้เราเลือกหมุนตามการใช้งานของเรา


2.แอมป์ (Amplifier)

หัวใจหลักที่ต้องมีเลยสำหรับระบบเสียงครับ เป็นตัวที่จ่ายไฟและทำให้เสียงออกมาจากลำโพงได้การแยกประเภทนั้นมีมากมายซึ่งในโอกาสหน้าเรา จะมาเขียนบทความแยกประเภทให้ดูกันนะ (เพราะมันเยอะจริงๆ) แต่หลักๆสำหรับงานระบบเสียงนั้นก็จะแยกประเภทเป็นสองแบบคือแบบ Volt Line และ OHM ตามการใช้งานที่เหมาะสม แต่ที่เราควรคำนึงคือกำลัง WATT ของแอมป์ที่จะต้องเพียงพอต่อลำโพง และ OHM ที่รองรับ ส่วนมากจะอยู่ที่ 2-8 ohm ก่อนที่จะเสียบปลั๊กเราควรจะคำนวนและปรึกษาผู้ที่ดูแลระบบให้ถี่ถ้วนก่อนนะครับ ไม่งั้นไม่ลำโพงก็แอมป์เนี่ยแหละ ที่จะพัง


3.MIXER

เครื่องควบรวมสัญญาณทั้งขาเข้าและขาออก จริงๆเป็นอุปกรณ์ที่ทำความเข้าใจยากที่สุดสำหรับระบบเสียงเลยครับ เพราะว่าในแผงบอร์ดของมันนั้น มีปุ่มมากมายมหาศาล แต่เราจะมาดูกันแบบโดยรวมก่อนละกันว่ามันมีอะไรที่เราต้องให้ความสำคัญหลักๆบ้าง

3.1 จำนวนช่องสัญญาณ

เราต้องดูก่อนว่าเราจะใช้ไมค์กี่ตัว มีอุปกรณ์อะไรบ้าง มีนักแสดงนักดนตรีกี่คน จะมีให้เลือกตั้งแต่ 6 Channel ไปจนถึง 32 Channel มากกว่านี้ก็มีนะแต่ราคารุนแรงมาก (หลักล้าน)

3.2 EFFECT

บางรุ่นนั้นจะมาแบบเพียวๆไม่มีเอฟเฟคให้เราเลือกซึ่งก็ประหยัดไปพอควร แต่บางตัวก็จะมีทั้งแบบ EFFECT Digital, Analog ก็เลือกกันไปว่าต้องการแบบไหน

3.3 USB

หลังๆเริ่มมีทำออกมาเยอะขึ้นก็สามารถเสียบ Flashdrive แล้วเล่นเพลงจาก Mixer ได้เลยโดยตรง สะดวกไม่ต้องต่อคอมให้ยุ่งยากเลย

3.4 ขาออก

เป็นจำนวนช่องสัญญาณขาออกที่ให้เราสามารถเลือกว่าจะไปออกส่วนไหนบ้าง ไม่ว่าจะเป็นลำโพง Monitor,ลำโพง หรือช่องสัญญาณอื่นๆ

3.5 Group

ในรุ่นสูงขึ้นไป (16Channel) เราจะเจอกับฟังก์ชั่น Group ที่สามารถให้เราเลือกจับคู่สัญญาณแล้วปรับระดับพร้อมๆกันได้ สะดวกมากๆ


4.Microphone

หัวใจหลักอีกดวงที่ไม่ว่าจะเป็นห้องประชุม ห้างสรรพสินค้า หรืองานเวที เพราะเป็นอุปกรณ์ที่จะนำสัญญาณจากผู้พูดเข้าไปสู่ระบบเสียงแท้จริงแล้ว นั้นไมโครโฟนมันถูกแยกชนิดออกมาเยอะมากๆจนเราไม่รู้ตัวตามแต่ลักษณะการใช้งาน แต่ที่เราเจอกันบ่อยๆเห็นจะเป็นแบบ Dynamic ที่ ใช้งานกันแพร่หลายและขึ้นชื่อด้านความทนทาน หรือจะเป็นไมโครโฟนชุดประชุม อันนี้ไว้โอกาสหน้าเราจะมาแยกชนิดกันนะครับ

ไม่ยากเลยเพียงเท่านี้ก็จะได้ระบบเล็กๆขึ้นมาชุดนึงที่สามารถพร้อมใช้งานได้แล้ว แต่แน่นอนว่าหากคิดถึงเรื่องระบบเสียงและไม่มีใครให้ปรึกษาทุกท่านสามารถติดต่อได้ที่ Line: @seaman เพื่อปรึกษาข้อมูลสารพันปัญหาที่พบเจอได้ทางเรายินดีให้คำแนะนำโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายครับ